[cs_heading column_size=”1/1″ heading_title=”งานประกันคุณภาพการศึกษา” heading_style=”1″ heading_size=”28″ heading_align=”left” bottom_border=”on” heading_divider=”off” heading_font_style=”normal” heading_color=”#1e99bf”] [/cs_heading]
รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
ผลงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ผลการประเมินผลงานของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว
จากการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ปรากฏผลการประเมินงานภาพรวม เปรียบเทียบกับผลการประเมินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ตามตารางดังนี้
ตารางที่ 1 ผลการประเมินผลงานของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวในภาพรวม จำแนกตามองค์ประกอบการประเมิน
องค์ประกอบของการประเมิน | คะแนนประเมิน | |
พ.ศ. 2556 | พ.ศ. 2557 | |
1. ความสำเร็จตามนโยบาย/วิสัยทัศน์ที่นำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย | 4.64 | 4.48 |
2. ผลการเอาแนวคิด/นโยบายชองสภาฯ และอธิการบดี สู่การปฏิบัติ | 4.58 | 4.43 |
3. ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในของคณะ ในปีที่ประเมิน | 3.99 | 4.46 |
4. ผลการประเมินคุณภาพการบริหารงานจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง | 3.45 | 4.02 |
5.ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคระกรรมการ ในปีที่ผ่านมา | – | 3.79 |
คะแนนประเมินเฉลี่ย | 4.27 (ระดับดี) | 4.30 (ระดับดี) |
จากตารางที่ 1 พบว่าคะแนนการประเมินผลงานของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ภาพรวมอยู่ในระดับดี (4.30) เมื่อแยกตามองค์ประกอบพิจารณาการประเมิน พบว่า ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของคณะ ปีการศึกษา 2556 มีคะแนนสูงสุด (4.63) รองลงมาเป็นผลของสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีสู่การปฏิบัติ (4.43) ตามลำดับ ทั้งนี้ในภาพรวมผลการประเมินผลงานของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มีคะแนนการประเมินสูงกว่าปีงบประมาณ พ.ศ.2556
เมื่อพิจารณาผลการประเมินของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ในองค์ประกอบที่ 1 ความสำเร็จตามนโยบาย/วิสัยทัศน์ที่นำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ปรากฏผลการประเมินดังนี้
ตารางที่ 1.1 ผลการประเมินความสำเร็จตามนโยบาย/วิสัยทัศน์ที่คณบดีนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
(ค่าน้ำหนักร้อยละ 30)
นโยบาย/วิสัยทัศน์ที่คณบดีนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย | คะแนนประเมิน |
1. คุณภาพคน | 3.00 |
2. คุณภาพหลักสูตร | 5.00 |
3. คุณภาพบัณฑิต | 4.00 |
4. คุณภาสังคม | 5.00 |
5. การพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นเลิศ | 4.75 |
6. พัฒนาคุณภาพการวิจัยและทักษะความสามารถในการแข่งขัน | 3.00 |
7. พัฒนาศักยภาพบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม | 5.00 |
8. พัฒนาระบบบริหารจัดการแนวใหม่โดยใช้หลักธรรมาภิบาล | 5.00 |
9. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ | 5.00 |
10. ยกระดับคุณภาพสอดคล้องมาตรฐานอาเซียน | 5.00 |
คะแนนเฉลี่ย | 4.48 |
จากตาราง 1.1 พบว่า คะแนนการประเมินผลงานของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ในองค์ประกอบของการประเมินด้านความสำเร็จตามนโยบาย/วิสัยทัศน์ของคณบดีแต่ละด้าน พบว่า
ด้านคุณภาพหลักสูตร ด้านคุณภาพสังคม ด้านพัฒนาศักยภาพบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านพัฒนาระบบบริหารจัดการแนวใหม่โดยใช้หลักธรรมาภิบาล ด้านพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ และการยกระดับคุณภาพสอดคล้องมาตรฐานอาเซียน มีคะแนนสูงสุดเท่ากับ (5.00) รองลงมาเป็นการพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นเลิศ (4.75) และด้านคุณภาพบัณฑิต (4.00) ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาผลการประเมินของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ในองค์ประกอบที่ 2 ผลการนำเอาแนวคิด/นโยบายของสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีสู่การปฏิบัติในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ปรากฏผลการประเมินดังนี้
ตารางที่ 1.2 ผลการนำเอาแนวคิด/นโยบายของสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีสู่การปฏิบัติ
(ค่านำหนักร้อยละ 20)
แนวคิด/นโยบายของสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดี | คะแนนประเมิน |
– การนำแนวคิด/นโยบายของสภามหาวิทยาลัย สู่การปฏิบัติ | |
1. การผลิตบัณฑิต พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา | 3.80 |
2. การวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี | 3.00 |
3. การถ่ายทอดองค์ความรู้ บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม | 3.50 |
4. การแข่งขันในประชาคมอาเซียน | 5.00 |
5. การบริหารจัดการ | 4.00 |
– การนำแนวคิด/นโยบายของอธิการบดี สู่การปฏิบัติ | |
1. การสร้างคน | 5.00 |
2. การสร้างบัณฑิต | 5.00 |
3. การสร้างความเป็นเลิศ | 4.56 |
4. การสร้างระบบบริหารที่ดี | 4.00 |
5. การสร้างศักยภาพสู่อาเซียน | 5.00 |
6. การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ดี | 5.00 |
7. การพัฒนาภูมิปัญญาถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล | 5.00 |
8. การพัฒนามหาลัยสู่ความเป็นนานาชาติ | 4.67 |
คะแนนเฉลี่ย | 4.43 |
จากตารางที่ 1.2 พบว่า คะแนนการประเมินผลงานของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ในองค์ประกอบการประเมินด้านการนำเอาแนวคิด/นโยบายสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีสู่การปฏิบัติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ภาพรวมอยู่ในระดับดี (4.43) เมื่อพิจารณาเฉพาะผลการนำแนวคิด/นโยบายของสภามหาวิทยาลัยสู่การปฏิบัติ พบว่า ด้านการแข่งขันในประชาคมอาเซียน มีคะแนนสูงสุด (5.00) รองลงมาเป็นด้านบริหารจัดการ (4.00) และด้านการผลิตบัณฑิต พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา (3.80) ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาผลการประเมินของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ในองค์ประกอบที่ 3 ผลการประเมินคุณภาพหารศึกษาภายใน ของปีที่ประเมิน ปรากฏผลการประเมิน ดังนี้
ตารางที่ 1.3 ผลการประเมินคุณภาพหารศึกษาภายในวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว
ปีการศึกษา 2556 (ค่าน้ำหนักร้อยละ 15)
องค์ประกอบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน | คะแนนประเมิน |
1. ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน | 5.00 |
2. การผลิตบัณฑิต | 4.04 |
3. กิจกรรมพัฒนานักศึกษา | 5.00 |
4. การวิจัย | 4.93 |
5. การบริการวิชาการแก่สังคม | 5.00 |
6. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม | 5.00 |
7.การบริหารและการจัดการ | 4.81 |
8. การเงินและงบประมาณ | 5.00 |
9. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ | 4.00 |
คะแนนประเมินเฉลี่ย | 4.63 |
จากตารางที่ 1.3 พบว่า คะแนนการประเมินผลการประเมินงานของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ในองค์ประกอบของการประเมินด้านผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ปีการศึกษา 2556 ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (4.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน ด้านกิจการพัฒนานักศึกษา ด้านบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และด้านการเงินและงบประมาณ มีคะแนนสูงสุดเท่ากัน (5.00) รองลงมาเป็นด้านการวิจัย (4.93) และด้านการบริหารและการจัดการ (4.81) ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาผลการประเมินของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ในองค์ประกอบที่ 4 ผลการประเมินคุณภาพการบริหารงานของคณบดีจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ปรากฏผลการประเมินดังนี้
ตารางที่ 1.4 ผลการประเมินคุณภาพการบริหารงานของคณบดีจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
(ค่าน้ำหนักร้อยละ 20)
ประเด็นการประเมิน | คะแนนประเมิน |
1. ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม | 4.07 |
2. การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสีย | 4.06 |
ประเด็นการประเมิน | คะแนนการประเมิน |
3. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร | 4.13 |
4. ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ | 4.08 |
5. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล | 3.95 |
6. แนวปฏิบัติที่ดีและนวัตกรรม | 3.78 |
7. ผลความสำเร็จตามพันธกิจ | 4.05 |
คะแนนประเมินเฉลี่ย | 4.02 |
จากตารางที่ 1.4 พบว่า คะแนนการประเมินผลงานของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวในองค์ประกอบของการประเมินด้านผลการประเมินคุณภาพการบริหารงานของคณบดีจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในปีงบประมาร พ.ศ. 2557 ภาพรวมอยู่ในระดับดี (4.02) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร มีคะแนนการประเมินสูงสุด (4.13) รองลงมาเป็นด้านประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณ (4.08) และด้านภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม (4.07) ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาผลการประเมินของคณบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ในองค์ประกอบที่ 5 ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการในปีที่ผ่านมา ปรากฏผลการประเมิน ดังนี้
ตารางที่ 1.5 ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะขิงคณะกรรมการในปีที่ผ่านมา
(ค่าน้ำหนักร้อยละ 15)
ข้อเสนอแนะของคระกรรมการในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 | คะแนนประเมิน |
1. เสนอให้มีความยืดหยุ่นในระบบงบประมาณของมหาวิทยาลัย | 2.00 |
2. ปรับปรุงความสะดวกด้านหอพักที่อำเภอเกาะสมุย | 5.00 |
3.สร้างห้องปฏิบัติการทางการบินและโรงแรมเพื่อเพิ่มประสบการณ์จริง | 2.00 |
4. ควนจัดสรรงบประมาณในการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาร่วมจัดการเรียน | 5.00 |
5. ควรพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่อง | 5.00 |
6. ควรเร่งส่งเสริมการวิจัย การขอตำแหน่งทางวิชาการ | 3.00 |
7.ควรเตรียมความพร้อมในการพัฒนาอาจารย์เพื่อก้าวเข้าสู่ตำแหน่งบริหาร | 5.00 |
8. ควรเร่งใช้ประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ | 5.00 |
9. ควรสร้างความแตกต่างระหว่างหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ | 5.00 |
10. ควรหาแนวทางในการจ้างอาจารย์ชาวต่างชาติมากกว่า 1 ปี | 2.00 |
11. ควรเร่งพัฒนาระบบการประสานงานภายในคณะ | 5.00 |
12. ควรปรับระเบียบการสอน Trimester | 2.00 |
13. ควรเพิ่มความเป็นนานาชาติผ่านการจัดกิจกรรม | 5.00 |
14.ควรเร่งก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่า | 2.00 |
คะแนนประเมินเฉลี่ย | 3.79 |
จากตารางที่ 1.5 พบว่า คะแนนการประเมินผลงานของครบดีวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ในองค์ประกอบของการประเมินด้านผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ภาพรวมอยู่ในระดับดี (3.79) เมื่อพิจารณาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการในแต่ละด้าน พบว่า ด้าน ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านหอพักที่อำเภอเกาะสมุย ด้านการจัดสรรงบประมาณ ในการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาร่วมจัดการเรียน ด้านการพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่อง ด้านการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาอาจารย์เพื่อก้าวเข้าสู่ตำแหน่งบริหาร ด้านการเร่งใช้ประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ด้านการสร้างความแตกต่างระหว่างหลักสูตรภาไทยและหลักสูตรนานาชาติ ด้านการเร่งพัฒนาระบบประสานงานภายในคระ และด้านการเพิ่มความเป็นนานาชาติผ่านการจัดกิจกรรม มีคะแนนการประเมินสูงสุด (5.00) รองลงมาเป็นด้านเร่งส่งเสริมการวิจัย การขอตำแหน่งทางวิชาการ (3.00) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว
จุดแข็งของคณะ
ข้อคิดเห็นที่ได้จากการประเมิน และความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สรุปดังนี้
1. มีหลักสูตรเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นประโยชน์และเหมาะสมกับประชาชนในจังหวัดสุราษฏร์ธานีและตังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ เป็นภูมิภาคที่เป็นความต้องการของประเทศชาติ
2. เป็นวิทยาลัยที่มีนักศึกษาชาวต่างชาติให้ความสนใจมาเรียนจากหลายประเทศ
3. วิทยาลัยมีโครงการความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น บริษัทการบินไทย และภาคธุรกิจการท่องเที่ยวอื่นๆ เป็นต้น
โอกาสในการพัฒนาคณะ
ข้อคิดเห็นที่ได้จากการประเมิน และความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สรุปดังนี้
1. อาจารย์ส่วนใหญ่มีอายุและประสบการณ์ในการบริหารและการสอนน้อย ควรต้องมีการเตรียมผู้บริหาร และสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ทำงานอย่างต่อเนื่อง
2. ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการในรูปแบบต่างๆ ยังมีน้อย
3. โสตทัศนูปกรณ์ มีน้อย ไม่เพียงพอ
4. อาจารย์ที่ประจำอยู่ในอำเภอเกาะสมุย มีความยากลำบากในการเดินทางและค่าครองชีพสูง
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ
ด้านงบประมาณ
1. วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวควรมีความคล่องตัว และความยืดหยุ่นในการใช้งบประมาณเพื่อคัดเลือกอาจารย์และนักศึกษาต่างชาติให้มากขึ้นกว่าปัจจุบัน เพราะจุดขายของวิทยาลัยเมื่อเปรียบเทียบกับหลักสูตรการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยอื่นโดยทั่วไป คือ ภาพนี้วิทยาลัยนานาชาติมีหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งสามารถรับรองทั้งคนไทยและต่างชาตินี้ต้องมีการเรียนรู้เรื่องการท่องเที่ยว/อุตสาหกรรมการบิน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัวอย่างมากโดยเฉพาะในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. ถ้าวิทยาลัยไม่สามารถรับอาจารย์และนักศึกษาต่างชาติได้ตามเป้าหมาย วิทยาลัยก็ไม่มีจุดแข็งในการแข่งขัน ดังนั้น วิทยาลัยต้องได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในด้านการใช้งบประมาณและกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยในส่วนนี้
3. นอกจากนี้มหาวิทยาลัย ควรสนับสนุนให้วิทยาลัยจัดหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้และทักษะที่สำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้กับบุคลากรของหน่วยงานหรือบุคลากรภายนอก ซึงคาดว่าจะมีปริมาณมากซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้และชื่อเสียงของวิทยาลัย ให้เป็นที่รู้จักในสังคมมากขึ้น ผลที่ตามมาก็จะมีผู้สมัครเป็นนักศึกษาและคณาจารย์เพิ่มมากขึ้น
4. มหาวิทยาลัยควรสนับสนุนงบประมารส่วนหนึ่งที่เกิดจากรายได้ของการอบรมคืนให้กับวิทยาลัย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจและแรงกระตุ้นให้ผู้บริหารและบุคลากรของวิทยาลัยในการมุ่งมั่นพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมให้บริการแก่สังคมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ และชื่อเสียงความเข้มแข็งให้แก่มหาวิทยาลัย
ด้านการบริหารและการจัดการ
1. ควรส่งเสริมให้คณาจารย์ได้พัฒนาความรู้และนำเสนอผลงานวิชาการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว การบิน ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มากขึ้น
2. คณาจารย์ส่วนใหญ่มีอายุและประสบการณ์การทำงานน้อย ควรพัฒนาความรู้ด้านบริหารเพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นผู้บริหารในอนาคต
3. ควรพัฒนาส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยซึ่งจะมีผลให้อาจารย์สามารถเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์
4. ควรส่งเสริมให้อาจารย์ศึกษาต่อให้มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกเพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะต่อมหาวิทยาลัย
1. ควรพิจารณาการทำสัญญาจ้างอาจารย์ชาวต่างชาติ เพื่อให้เขามีความมั่นคงในงานมากขึ้นซึ่งปัจจุบันสัญญาจ้างปีต่อปี
2. มหาวิทยาลัยควรกระจายอำนาจการบริหารให้กับคณะ/สถาบันต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
3. ควรส่งเสริมการทำโครงการความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรบุคคลและอุปกรณ์ในการจัดการศึกษา